ปลูกปาล์มยังไงให้ได้ 7 ตันต่อไร่ต่อปี

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 (2022) ที่ผ่านทางสภาอุตสาหกรรมของจังหวัดสุราษฎร์ธานีชวนไปพูดเกี่ยวกับการทำเกษตรแม่นยำจากมุมมองของ Startup กับงานที่บริษัททำอยู่

เลยโชคดีได้ฟังพี่อรรณพและพี่โสฬสตามรูปด้านล่างมาแชร์เรื่องการทำปาล์มของพี่โสฬสว่าทำอย่างไรใช้ชนะค่าเฉลี่ยของประเทศโลกที่อยู่ที่ประมาณ​ 3 ตันต่อไร่ต่อปีได้มากว่า 2 เท่าอยู่ที่ 6-7 ตันต่อไร่ต่อปีได้ต่อเนื่องกันตั้งแต่ปี 2557 ผ่านทั้งช่วงแล้งและฝนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ฟังแล้วบอกได้เลยว่าเปิดกระโหลกมากและคิดว่าแชร์เรื่องพี่โสฬส (ชื่อพี่เค้าเท่ขึ้น 10x หลังจากฟังสิ่งที่พี่เค้าทำ) ก่อนจะเล่าเรื่องตัวเองจะดีกว่า 555

จะเปลี่ยน ความเล็ก เป็น จุดแข็ง ได้อย่างไร คือ สิ่งได้จากพี่ทั้งสองท่าน

ประกาศเชิญชวนไปฟังพี่ ๆ idol ด้านการเกษตร

ก่อนอื่นก็เริ่มจากดูกันจะ ๆ ก่อนเลยว่าค่าผลิตที่ได้ของพี่โสฬสและค่าเฉลี่ยของประเทศและทั้งโลกเป็นเท่าไหร่จากค่าสถิติที่ได้โหลดได้จากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จะเห็นว่าค่าเฉลี่ยต่อไร่ต่อปีของทั้งโลกอยู่แถว ๆ 3 ตันที่มาเลเซียที่เป็นผู้ผลิตอันดับสองของโลกที่ทิ้งห่างเรา (ที่ 3 ของโลก)ในเชิงปริมาณแบบไม่เห็นฝุ่นยิ่งถ้าเทียบกับอินโดนีเชียยิ่งไม่ต้องพูดถึง

ภาพจากหน้า 36 ของ สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2564

ถ้ามาดูภาพของพี่โสฬสที่จดอย่างละเอียดลงสมุดบันทึกที่พี่เค้าพกมาโชว์ในงานด้วย (ไม่ได้ถ่ายรูปตอนอวดมา)​ จะพบว่าชนะ 2+ เท่าต่อเนื่องถ้าเป็นกีฬาก็ต้องบอกว่าทีมคู่แข่งถอดใจแน่นอน แม้ตอนที่บ้านเรามีภัยแล้งรุนแรงก่อน Covid-19 ในปีช่วง 2562-2563 (2019-2020) ก็ทำได้มากกว่า 2 เท่าอย่างต่อเนื่อง

ภาพแห่งความภูมิใจของพี่โสฬส

ด้วยพื้นที่ประมาณ​ 44 ไร่ที่พี่โสฬสดูแลอยู่สิ่งหนึ่งที่ได้จากการที่พี่อรรณพชวนคุยในแง่มุมต่าง ๆ คนฟัง (ผมคนนึง) รู้สึกได้ถึงความภูมิใจของทั้งเจ้าของสวนและคนที่นำการเล่าเรื่องที่มีสวนเป็นของตัวเอง

หลาย ๆ ภาพที่เห็นใน slide ที่ใช้ในงานมาจากนิตรสารยางปาล์ม ที่มีเว็บไซต์ที่ลงรายละเอียดเชิงปฏิบัติไว้อย่างละเอียด post นี้เลยอยากแชร์ในมุมของคนนอกที่ไปนั่งฟัง มืออาชีพ ที่ทำได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยมาก ๆ เล่าเรื่องให้ฟังแล้วอยากสังเคราะห์ออกมาเป็น 3 ประเด็นที่น่าสนใจและคิดว่าจะไปประยุกต์ได้กับอีกหลายเรื่องที่กำลังเจอในชีวิต

1. ความชอบ (passion) เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเปลี่ยนเป็นความเป็นมืออาชีพให้ได้ถ้าจะเอาดีกับมันจริง ๆ คือสิ่งที่พี่โสฬสเล่าให้ฟังว่าตอนแรกก็ไม่ได้ทำปาล์มแต่ก็มีจุดเปลี่ยนให้เริ่มทำแล้วมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของปาล์มเกิดความสนใจและอยากเรียนรู้นำไปสู่การตั้งเป้าหมายและสู้กับตัวเองและสร้างระเบียบวินัยต่าง ๆ ขึ้นมาทำให้ตัวเองต้องคิดทุกวันว่าวันนี้จะทำอะไรให้สวนตัวเองดีขึ้นปัญหาอะไรที่ต้องแก้ ตัวอย่างในรูปข้างล่างคือหลักฐานหนึ่งที่สำคัญ

ตัวอย่าง ภาพความเป็นระเบียบและรายละเอียดต่าง ๆ เช่นการปูทางใบบนพื้นเพื่อให้ย่อยสลายเป็นฮิวมัส (humus) ของสวนพี่โสฬสที่ไม่ได้เห็นในสวนอื่น ๆ ที่เคยไปมา

2. ความอดทน ในการเรียนรู้และสังเกตสิ่งที่เร่งเวลาไม่ได้ให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งและควบคุมมันให้ได้ รูปด้านล่าง คือ วงจรการสร้างทะลายของปาล์มที่มีหน่วยนับเป็นเดือนที่ต้องรอมาก่อน 3 ปีกว่าจะเริ่มเข้าจัดหวะที่นับได้ด้วยความเร่งรีบของโลกวันนี้หลาย ๆ คนก็คงเลิกคิดไปนานแล้วว่าจะเรียนยังไงนานขนาดนั้น และถ้ารู้ว่าปลูกแล้วต้องอยู่กันไปอีก 25 ปีอาจจะยิ่งถอดใจ แต่สิ่งที่น่าประทับใจกว่านั้น คือ รูปที่เห็นเป็นรูปที่อยู่ในตำราเกี่ยวกับการปลูกปาล์มแทบทุกเล่ม แต่น่ามีน้อยคนมากที่จะทำไปถึงขั้น 1) กำหนดเพศของดอกให้ได้เพศเมียเยอะ ๆ 2) เพื่อนำไปสู่จำนวนทะลายเฉลี่ยที่ดี (2x ของค่าปรกติคุ้น ๆ มั้ย)​ และ 3) เก็บเกี่ยวอย่างมีชั้นเชิงให้ได้ผลที่สุกพอดีกับจังหวะการตัดให้คุ้มค่ากับที่เตรียมตัวกันล่วงหน้าอย่างน้อย ๆ 2 ปี โดยไม่สนใจคำบอกเล่าหรือความเชื่อของคนหมู่มาก

ภาพที่พี่ ๆ เค้าบอกว่ามีอยู่ในทุกตำรา

3. การคิดแบบวิทยาศาสตร์ ด้วยการสังเกตและทำความเข้าใจพื้นที่ของตัวเองอย่างลึกซึ้งพี่โสฬสเล่าหลาย ๆ เรื่องให้ฟังจากมุมมองของคนทำจริงที่บอกได้เลยว่าลึกซึ้งและหลาย ๆ เรื่องยากมากในมุมวิทยาศาสตร์ เช่น ที่ของพี่โสฬสเป็นดินเปรี้ยวความเป็นกรดสูง (pH เคยวัดได้ถึง 3 กว่า) จะทำอย่างไรให้พืชยังสามารถดูซึมปุ๋ยได้เป็นความท้าทายที่ต้องใช้ทั้งความเข้าใจเคมีและกายภาพพืชในการที่จะให้ธาตุที่มีประจุต่าง ๆ กันช่วยนำพาสารอาหารไปสู่ลำต้นได้อย่างที่ต้องการ (ไม่สามารถอธิบายได้เพราะจำรายละเอียดไม่ได้ทั้งหมด)​ หรือการให้นำอย่างถูกต้องในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลิตนอกฤดูกาลที่ประยุกต์จากรูปด้านบน

ตัวอย่างภาพการให้น้ำเพื่อให้ปาล์มออกผลในนอกฤดูการหลักทำให้สามารถขายผลิตได้ในช่วงที่ความต้องการสูงและได้ราคาดีคุ้มกับค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม

จากที่เขียนมา 1) ความชอบ 2) ความอดทน 3) ความเป็นวิทยาศาสตร์ และแง่มุมอื่นที่นำไปสู่ความเป็นมืออาชีพของพี่โสฬสเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของมืออาชีพที่ตั้งใจทำทุกอย่างอย่างมีระเบียบวินัยและมีการตรวจสอบปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่องในทุกขั้นตอน และจิตใจที่ดีนำไปสู่การสอนการเล่าเรื่องที่ยิ่งทำให้ feedback loop เข้มข้นขึ้นไปอีกทำให้และพลักให้ตัวพี่เค้าไปอยู่แถวหน้าของวงการ (เชื่อแบบนั้นเลยจาก fanclub ที่มาฟังทำให้ session ของข้าพเจ้าได้ผลบุญไปด้วยแต่ไว้ค่อยมาเล่า)

จากเรื่องของพี่โสฬส จะเห็นว่า เกษตรแม่นยำทำได้จริง ทำด้วยคนได้ ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องมือหรือเทคโนโลยีไฮเทคแต่ต้องการความเป็นวิทยาศาสตร์ อดทน และระเบียบวินัยเป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตามคนก็มีข้อจำกัดที่สำคัญ ที่ทำคนเดียวได้ในพื้นที่ขนาดไม่ใหญ่มาก ทำให้ยากที่จะเลียนแบบตรงไปตรงมาให้ประสบความสำเร็จในเกษตรเชิงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ถ้าไม่ได้มีการวางแผนระยะยาวที่เหมาะสม (มีต่อใน post ถัดไป)

รีวิว Mazda CX-5 2016 Minor Change ครบ 111,111 กิโลเมตร

มารีวิวอะไรปี 2022 อาจจะเป็นคำถามแรกของคนที่เข้ามาเจอ คำตอบง่าย ๆ คือก็ถ้าไม่ได้ใช้นานพอคงรีวิวจริงจังได้ยาก หลักฐานคือ 111,111 km เน่า ๆ ข้างล่าง T-T (ดีเซล AWD)

111,111 km ที่ตั้งใจถ่ายยยย แล้วพินาศ

เลือกรถจาก safety feature ในรถรุ่นเดียวกัน ณ​ ตอนนั้น + คนรอบ ๆ ตัวใช้ Mazda เยอะไม่ได้มีอะไรมากกว่านั้นเพราะว่าราคารถ class เดียวกันอยู่แถว 1.6+ ล้านหมด (ค่อนข้างโชคดีได้ผ่อน 0%)

เข้าเรื่องดีกว่า สรุปโดยรวมคือรถไม่มีปัญหาใหญ่อะไรทั้งที่ใช้ค่อนข้างเยอะ ~20,000 km/ปี และขับไปทั่วทุกสภาพถนน ลุยน้ำ ขึ้นเขา ลุยสวน แต่ไม่ได้หนักแบบวิบาก

จบ … น่าจะโดนด่า จริง ๆ แล้วปัญหาหลักที่เจอไม่ได้อยู่ที่รถแต่เป็นคนและศูนย์บริการ

อันที่โหดสุดคือช่วง 1-2 หมื่นกิโลเมตรแรก รถวิ่ง ๆ อยู่ระบบก็ reset บนทางด่วน แต่ดีที่เครื่องไม่ดับเลยไม่มีอะไรร้ายแรง ด้วยความที่เป็นรถคันแรกเลยไม่แน่ใจว่าต้องจัดการยังไงก็เข้าศูนย์ไป ก็หาอะไรไม่เจอ

แล้วหลังจากนั้นก็ไม่มีอะไรจนมีวันหนึ่งขับไปกาญจนบุรีก็เจออาการคล้าย ๆ กันอีก เลยแวะปั้มแล้วลองดูจริง ๆ จัง ๆ ขยับโน้นนี่ดูก็ไปเจอว่าขั้วแบตหลวมทั้งที่ไม่ได้ไปยุ่ง

ถ่ายวีดีโอแจ้งศูนย์ หาตัวช่างที่ดูแล จบที่คำตอบกาก ๆ เลิกรากันไป โทรไปโวย Mazda ประเทศไทยนิดหน่อย

หลังจากนั้นก็ paranoid เรื่องการดูสภาพสายไฟและขั้วต่าง ๆ หลังจากเข้าศูนย์ทุกรอบ

5 ปีที่ผ่าน (ได้รถตอน พฤษภาคม 2560) มีเรื่องหลัก ๆ อยู่ 6-7 จุด

1) เปลี่ยนยางไป 3 รอบ (รอบล่าสุดคือสงกรานต์ที่ผ่านมา)​ ยางมาตรฐานคือ 225/55R19 ที่รู้ที่หลังว่าแพงไม่น้อย และแพงแบบกระโดดมากจาก R17 ของเดิมมาเป็น Toyo แต่เปลี่ยนเป็น Michelin ตลอดหลังนั้น

2) รถรุ่นนี้มีปัญหาน้ำดัน ฟ้องร้องกันเป็นคดีใหญ่โต แต่คันที่ได้มามีประกันเพิ่มและ Mazda เองก็มีการเรียกเข้าศูนย์ไปเปลี่ยนชิ้นส่วนแก้ไขจุดที่มีปัญหาก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรมายาว ๆ

3) มีอุปกรณ์เป็นเซ็นเซอร์ไอเสียเสียหายในประกันไป 1 ตัวเปลี่ยนได้ไม่มีค่าใช้จ่าย แล้วก็เซ็นเซอร์กันชนที่เพิ่งเสียไปใน post ก่อนหน้า

4) ไฟสูงไม่ทำงานน่าจะเกิดจากโคมไฟหลวม/ตกไป 1 ครั้งตอนขับไปต่างจังหวัดกลางคืนมีความสยองเหมือนกัน แต่เอาเข้าศูนย์ก็แก้ไขได้ถาวร (จนตอนนี้)

5) เปลี่ยนแบตเตอรี่ประมาณ 2 ปีครั้งไปแล้ว 3 ก้อน ก้อนที่ 2 ลองข้างนอกก็ถูกกว่า 30-40%

6) มีอุบัติเหตุงง ๆ 2 ครั้ง ครั้งแรกขับทับเศษยางบนถนนตอนขับเร็วทำให้กระเด็นโดนบังโคลนแตก ครั้งที่ 2 น่าจะโดนคนเข็นรถโดยดึงกระจกข้างเฟืองรูดเลย ทั้ง 2 ครั้งเครมประกันได้ ส่วนเกือบ ๆ นี่หลายครั้งแต่ก็ไม่มีอะไร เครมอะไรก็ไม่ได้เครมเบี้ยก็ลดมาเรื่อย ๆ ตอนนี้ได้ชั้น 1 ที่หมื่นนิด ๆ

7) ลำโพงดีแต่ logic Bluetooh ไม่ดี ชอบติด ๆ หลุด ๆ เวลาต้องใช้มือถือในรถแต่รวม ๆ 90+% ใช้งานได้

8) ใช้ดีเซลประหยัดน้ำมันใช้ได้อยู่ ช่วงน้ำมันแพงที่ผ่านมาก็ได้อานิสงส์มาด้วย

เน้นฤกษ์สะดวก ไม่มีพวงมาลัย ไม่มีเจิม แถมทะเบียนถูกหวยด้วย (คนข้างบ้านซื้อ)

ตอนนี้โดยรวมก็ยังทำงานได้ดี 3-4 เดือนที่ผ่านมาเริ่มกลับมาขับเยอะ ๆ อีกครั้งทั้งพาที่บ้านไปต่างจังหวัดแบบ full-load 5 คนของเต็มรถ และลุยทำงานเดินทางไกล ๆ ก็ยังทำงานโอเคดี

สำหรับเรื่องราคาขายต่อไม่ต้องเป็นห่วงถามศูนย์กี่รอบได้คำตอบเดิมคือแนะนำให้ถือยาว ๆ Mazda คือการลงทุนโดยแท้ทรูเพราะราคาหายไปเกือบ ๆ 70% มานานแล้ว …

in Car | 26 Words

Bangkok WordPress Meetup

หลังจากกลับมาเขียน blog ด้วย WordPress ก็ได้ email มาบอกว่าจะมี Meetup วันที่ 18 ที่ผ่านมา ก็เลยลงทะเบียนไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น

พอถึงวันก็ขับรถไป MBK แล้วก็ไปเดินหลงหา Skooldio ไม่เจอเพราะคิดว่าอยู่ในตัวห้างแต่จริง ๆ แล้วอยู่ชั้น 20 ฝั่งตึกสำนักงานที่ต้องใช้ลิฟท์ (ลับมาก)​ ที่ต้องเข้าจากชั้น 5 เดินวนไปวนมาอยู่ 15 นาทีได้กว่าจะไปถึงห้อง

เข้าไปถึงมีคนอยู่ประมาณเกือบ 30 คนที่ไม่รู้จักใครเลย ก็เข้าไปเป็นเด็กหลังห้องนั่งฟังอยู่เงียบ ๆ ดูว่าเค้าจะมาเล่าเรื่องอะไรกัน ตัวเองก็มีเว็บ WordPress หลักอยู่ 1 เว็บถ้วน (ตามเงื่อนไขการเข้างาน)

สิ่งที่เจอคือ คนจริง เรื่อง WordPress เค้ามาคุยกัน คนจริง ในที่นี้ คือ คนที่ใช้ WordPress ทำมาหากินเป็นจริงเป็นจัง ที่เล่าเรื่องต่าง ๆ หลายแง่มุมที่ยากจะหาได้จาก Google (เอง)​ เพราะแทบไม่รู้ keyword อะไรเลย เช่น 1) headless cms 2) theme แปลก ๆ 3) plugin เฉพาะทางหลาย ๆ ตัว

เว็บใหญ่ ๆ หรือ ดัง ๆ เช่น cpall หรือ tvpool ก็เป็นคนที่นั่งในห้องนี้ทำ

พอมองจากมุมที่ตัวเองก็พออะไรหลาย ๆ อย่างได้เอง เช่น ขึ้น server ใน DigitaOcean แล้วลง LAMP / LEMP stack ก่อนใส่ WordPress เพื่อทำ web เอง เช่น https://www.thairobotics.com (ที่ไม่ได้อัพเดท content กันมานานแล้ว) แล้วก็พบว่า เรามันช่างกระจอกสิ้นดี …

ฟังทุกคนพูดสิ่งที่ตัวเองทำในงานที่ตัวเอง(น่าจะ)รัก​ ที่มีทั้งทำด้วยความสะใจส่วนตัวหรือทำเป็นอาชีพแล้วก็เห็นชัดเจนว่ามืออาชีพหรือคนที่เก่งกว่าเรามีอยู่เสมอและการแบ่งปันของคนเหล่านั้นมันสร้างความเข้าใจและการมองเห็นช่องทางในการปรับปรุงความไม่รู้ของเราได้เป็นอย่างดี

นอกจากนั้นยังได้เจอเจ้าพ่อของวงการที่เคยได้ยินชื่อแต่ไม่รู้จัก คือ คุณเม่น ที่พูดปิดท้ายได้น่าสนใจเรื่องการเอา Line Account มา login WordPress เพื่อเอาไปใช้ต่อ Line OA ได้เลย

นอกจากนั้นก็รู้ว่าจะมีการประชุมใหญ่ของ WordPress ชื่อว่า WordCamp Asia 2023 ในปีหน้าที่เมืองไทยด้วยที่ IconSiam ช่วงวันที่ 17 – 19 กุมภาพันธ์ 2023

สุดท้ายเป็นรูปหมู่ที่ทำให้รู้ว่า WordPress ก็มีท่าด้วย 555

รูปจาก https://www.facebook.com/groups/123254137875021

จริง ๆ ก็อยากจะคุยกับทุกคนก่อนกลับหละครับแต่ต้องกลับบ้านไปหาลูกก่อนโดนภรรยาด่า … ไว้โอกาสหน้า

ท้ายสุดจริง ๆ อีกเรื่อง คือ กทม. ก็มีส่วนช่วยให้เกิดขึ้นด้วยรู้สึกดี …

ไม่ถูกหวยแล้วนะ แต่ …

งวด 16 สิงหาคมที่ผ่านมาค่าคงที่ทึ่เลือก (e = 1.602176634×10−19 C) ไม่ถูกแล้ว

ถ้าดูที่เลขท้ายสองตัว (42) การเอาเลขที่มีนัยยะสำคัญ 6 หลักจากตารางใน Wikipedia เลยจะพบว่าไม่มีค่าที่จะทำถูกได้เลย

แต่มีเลขหนึ่งที่มึค่า

1.1910429723971884140794892×10−16 W⋅m2⋅sr−1

ถ้าเราเพิ่มเงื่อนไขให้เราเลขนัยยะสำคัญหลักแรกออกไปด้วยก็จะถูก … เป็นสิ่งเกจิมักจะทำหลังหวยออก

ว่าแล้วก็ ทำงาน ทำงาน ทำงาน กันเถิด

เทคโนโลยี vs โครงสร้างพื้นฐาน

คำเตือน (ตัวเอง) โพสต์นี้อาจจะเรียกแขก

อายุโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เช่น ถนน สะพาน บลา ๆ มีความแตกต่างกัน หลายอย่างอายุสั้น หลายอย่างควรจะอายุยาว มีปัจจัยภายในภายนอกที่ส่งผลต่ออายุ

วันนี้อยากเล่าถึงพวกสะพานคอนกรีตที่เพิ่งเป็นข่าวไปเร็ว ๆ นี้ว่าตั้งแต่ทำโดรนมาแล้วมีคนอยากได้โดรนไปสำรวจโครงสร้างพื้นฐานเหล่านั้นหรือไม่

คำตอบง่าย ๆ คือ เพียบ แต่แทบจะไม่ได้ไปต่อสักอัน

ทำไม?

ถ้าเป็นตอนทำ HiveGround ใหม่ ๆ ทำโดรนตัวแรก ๆ จะไปโวยวายเรื่อง โหย GPS ทำงานใต้สะพานไม่ได้ โดรนจะหลบสะพานยังไง อยากได้ภาพละเอียดมากกกก โดยไม่คุยกันว่าจะเอาไปดูอะไร แล้วก็ไปจบที่ไม่ได้ไปต่อ

แต่หลังจาก ฟัง คุย และถาม ไปจนข้อจำกัดทางเทคนิคแทบหมดไปแล้ว (~6+ ปี) ก็พบว่าความจริงมันซ่อนอยู่ในรายละเอียดอื่น ๆ

1) โครงสร้างพื้นฐานหลายอย่างเป็นสัมปทาน แปลว่าคนสร้างสามารถ “สร้างเท่าที่จำเป็น” และดูแล “เท่าที่ต้องทำ” ได้ พอครบเวลาก็ส่งคืนในสภาพพอดี ๆ

2) โครงสร้างหลายอย่างเป็นงบท้องถิ่นหรืองบทที่ไม่ต่อเนื่องทำให้ต้อง “ทำเท่าที่ทำได้” และคนที่เกี่ยวข้องมีความสุข (แบบไหนแล้วแต่กรณี)

3) ถ้าลองสังเกตโครงสร้างพื้นฐานที่มีการเก็บค่าใช้งานจริงจังมักจะอยู่ในสภาพดี และยิ่งถ้าเก็บแพงหรือปรับค่าใช้งานตามค่าเงินก็จะค่อนข้างดี (เช่น ดอนเมืองโทลล์เวย์)

4) อีกสารพัดที่อาจจะยังไม่รู้

แต่จาก 3-4 ข้อข้างบนมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ การดูแลรักษาเป็นต้นทุนที่ประกอบด้วย คือ 1) ค่าแรงคน และ 2) อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3) การประมวลผลไปสู่ action ที่ต้องการ 4) ออก action ที่เหมาะสม

การทำงานแบบปัจจุบัน คือ ใช้คนล้วน ๆ ร่วมกับอุปกรณ์เสริม เช่น 1) การโรยตัวตรวจรอยแตก 2) การมุด ๆ สะพานถ่ายรูป 3) นั่งรถกระเช้าไปดูท้องสะพาน และอีกสารพัดการทำงานที่ทั้งเสี่ยงและอันตราย

ความพีดมันอยู่ตรงที่ คุยไปคุยมาคุยมาก็คุยไป แล้วก็ได้เห็นค่าจ้างเหมาตรวจสภาพโครงสะพานยาวเป็นร้อย ๆ เมตรอันหนึ่งที่ใช้เวลาร่วม 2 เดือนที่กางราคาออกมาแล้ว ถึงกับต้องหันไปถามพี่ที่เล่าให้ฟังว่า พี่รับงานทำไม

คำตอบ คือ เค้าทำกันมาแบบนี้ ตัดราคากันมาเรื่อย ๆ จนไม่มีคนที่จะทำได้ดี ๆ แล้ว

บอกเลขบอกรายละเอียดคงไม่ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ค่อนข้างมั่นใจ คือ ยากมากที่จะเอาเทคโนโลยีหรือเครื่องมือแบบโดรนไปใส่ เพราะผลและรูปแบบรายงานที่ต้องการหรือยอมรับได้แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่แก้ตั้งแต่ต้นทาง และที่สำคัญ คือ ฝีมือและคุณภาพของชีวิตของคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียมีมูลค่าต่ำไปกว่าที่ควรจะเป็นมาก

กลายเป็นวงเวียน จน เครียด ดื่มเหล้า ทำให้การปรับปรุงและการดูแลรักษาโครงสร้างให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมทำไม่ได้ดีอย่างที่ควรเพราะไม่มีข้อมูลคุณภาพเบื้องต้นเพื่อการตัดสินใจและวางแผนระยะยาว

และอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือประเทศไทยพัฒนาก้าวกระโดดในช่วง 30-40 ปีที่ผ่านมาสารพัดโครงสร้างอยู่มานานโดยไม่มีปัญหาอะไรมากนัก แต่อาจจะขาดการดูแลอย่างที่ควร และเริ่มก่อปัญหาในช่วงนี้พอดี

ถ้ายังไม่มีใครลุกขึ้นมาทำอะไร ข่าวแบบพระรามสองน่าจะเดือดขึ้นเรื่อย ๆ

ว่าแล้วก็ทำประกันเพิ่มอีกหน่อยดีมั้ยนะ …

ประสบการณ์สุดท้ายกำหนดความทรงจำ (หลัก)

หนังสือ Thinking Fast and Slow ประเด็นที่น่าสนใจหลายอย่างหนึ่งในนั้น คือ ประสบการณ์สุดท้ายมักจะเป็นกำหนดความทรงจำหลักที่มีต่อเหตุการณ์นั้น ๆ เช่น ไปเที่ยวทะเล 3 วัน 2 คืนสนุกสุด ๆ ตั้งแต่ออกจากบ้านแล้วดันอาหารเป็นพิษวันสุดท้ายทริปนั้นจะกลายเป็น “ทริปอ้วกแตก” ของทุก ๆ คนในทันทีแทนที่จะเป็นความทรงดี ๆ อันอื่น (แน่นอนว่าไม่ได้ลืมไปเลย แต่ “ทริปอ้วกแตก” จะกลับมาก่อนแน่นอน

ในทางกลับกันถ้าตอนจบเป็นเรื่องปรกติอย่างที่ควรจะเป็น เช่น ขับรถถึงบ้านอย่างปลอดภัยไม่ดึกไม่มีอะไรผิดคาด ความทรงจำก็จะกระจายอยู่ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ความลำดับความสำคัญอย่างที่ควรจะเป็น แต่มักจะนำไปสู่การลืมไปว่าไปทำอะไรมาบ้าง หรือหลาย ๆ ครั้งลืมไปเลยว่าเคยไปมาด้วยหรือ

ช่วงหลายปีที่ผ่านมามี “ทริป x” อยู่ 2-3 อัน เช่น

1) “ทริปกระเป๋าตังหาย” ปีใหม่ 2019 ที่จบไม่สวยเพราะกระเป๋าตังดันหล่นหลายไปแบบไม่รู้ตัวจนไปรอหน้าเกตเตรียมขึ้นเครื่องกลับบ้านแล้ว แต่ยังไงดีที่มีเวลาเหลือพอที่จะขอ จนท กลับออกไปหาโดยนั่งรถย้อนทิศกลับไปยังจุดคืนรถ แต่ปรากฏว่าไม่เจอก็แล้วก็ลนลานหาไปเรื่อย ๆ แล้วปรากฏว่าคนขับรถ shuttle สงสัยว่าทำไมลุกลนเลยมาถามว่าเป็นกระเป๋าเราหรือป่าว เราก็สามารถตอบบรรยายได้ถูกเลยได้คืนมาหมด ยกเว้นเงินโดนเอาไปหมดเลย แน่นอนว่าเป็นความทรงจำที่เกือบจะดีแล้วแต่ก็ไม่ดีอยู่ดีเพราะวิธีการพูดของคนขับก็ทำให้รู้ได้ว่าคนเอาเงินไปก็คือคนขับนั่นแหละ ออสเตรเลีย เลยกลาย “ทริปกระเป๋าตังหาย” ไปโดยปริยาย

2) “ทริปส้วมสวย” ปีใหม่ 2018 ขับรถไปภูเก็ตกับที่บ้านจาก กทม จำอะไรแทบไม่ได้ (ถ้าไม่ได้ไปดูรูป) ไม่มีปัญหาอะไรทั้งขาไปและขากลับแต่สิ่งหนึ่งที่จำได้ไม่ลืม คือ ณ​ จังหวัดหนึ่งระหว่างทางเจอป้ายกองโจรริมถนนยาวเป็นกิโลเมตร เน้นว่า “กิโลเมตร” ชวนให้แวะปั้มน้ำมันแห่งหนึ่ง โดยชูจุดเด่นที่ “ส้วมสวยที่สุดในประเทศไทย” แน่นอนว่าแวะ และมีคนแวะมากมายยยยย แต่สิ่งที่เจอคือปั้มที่กำลังจะปิดตัวเพราะแทบไม่มีคนเติมน้ำมัน แต่มุ่งไปเข้าส้วม (ที่น่าจะมีแต่รายจ่าย) จนส้วมก็อยู่ในสภาพแย่เต็มทนแล้ว เลยกลายเป็น “ทริปส้วมสวย” ไปอีกและทุกคนก็จะขำหนักมากเมื่อพูดถึง

ล่าสุดเมื่อวันเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมาทริปพาเด็กไปเขาใหญ่ก็กลายเป็นอีกทริปที่มีตำหนิถึงแม้ว่าจะมีเด็กน้อยที่เกินเก่งทั้งทริป

ไก่ย่างของโปรด
ลูกม้าแคระเพื่อนใหม่
ขี่ม้าตัวใหญ่

แต่ระหว่างกลับบ้าน ที่จะกลับโดยผ่านอทุยานแห่งชาติเขาใหญ่ไปลงปราจีนบุรี ระหว่างขับไปเข้าอุทยานก็มีรถแซงทางโค้งแถมเป็นเส้นทึบและกินเลนมาในระยะประสานงา แต่ 1) โชคดีเห็นทัน 2) หักหลบแล้วไม่เสียการทรงตัวเพราะไม่ได้มาเร็วมาก 3) ไม่มีรถหรือมอเตอร์ไซด์ซ้าย 4) ทุกคนคาดเข็มขัน เลยรอดมาได้ พร้อมคำด่ามากมาย

“ทริปรอดตาย” น่าจะกลายเป็นคำนิยามของความสนุกที่เกิดขึ้น

น้องลินไม่เคยได้นั่งรถโดยไม่มี car seat เลยตั้งแต่เกิด

อยากรู้ว่าใครเคยมี “ทริป” อะไรกันมาบ้าง?

เสีย 1 ช่างขอเปลี่ยน 4

เรื่องมีอยู่ว่าเซนเซอร์อัลตราโซนิก (เสียงความถี่สูงมาก) ตรงกันชนหน้าขวาของรถมาสด้า CX-5 ที่ขับอยู่เสียไป 1 ตัวทำให้ตัวรถตัดระบบเตือนการชนทั้งหมด ทำให้เวลาถอยหรือเลี้ยวในที่แคบมาก ๆ ทำแทบไม่ได้เพราะ สมองโดนฝึกการกะระยะด้วยเซนเซอร์ไปแล้ว

หน้าตาเซนเซอร์เตือนการชนหน้ารถ

หลังจากที่ติด ๆ ดับ ๆ อยู่พักนึงก็ทนไม่ไหวละไปศูนย์ให้จัดการดีกว่า หลังจากนัดวันเข้าไปช่างก็ไปตรวจอยู่นานแสนนานแล้วก็กลับมาบอกว่าเสียครับ

“ครับพี่” รถมันก็บอก แต่ไม่เป็นไรเข้าใจได้

ประเด็นอยู่ที่ช่างมาแจ้งว่าจากการตรวจสอบพบว่าเสีย 1 ตัวตามที่ลูกค้าบอก (Ok) แต่จะขอสั่งมาเปลี่ยนทั้ง 4 ตัวนะครับ (อิหยังวะ) เคลิ้ม ๆ อยู่ตื่นเลย

เข้าสู่ช่วงถาม-ตอบยาว ๆ

1) ทำไมต้องเปลี่ยนหมดครับ? -> ช่างบอกว่ากลัวจูนกับอีก 3 ตัวไม่ได้ (หืมมมม)

2) ทำไมจะจูนไม่ได้ครับ? -> กลัวจูนไม่ได้ พร้อมอธิบายความเชื่อแนวไสยศาสตร์ (เอาจริงดิ!)

3) ตัวละเท่าไหร่ครับ? -> ตัวละ 2,000 พันจะขอเปลี่ยนเผื่ออีก 3 ตัว จะให้พี่ช่วยความกลัวช่างอีก 6,000 (เอาจริงดิ!!)

4) เอารหัสสินค้ามาดูหน่อย -> หาคู่มือการเปลี่ยนให้ดูต่อหน้าเลย (ช่างเหมือนจะเหวอ ๆ หน่อย)

5) หว่านล้อมช่าง (มันใช่เหรอฟระ) ว่าเชื่อผมผมเรียนมา ว่าเซ็นเซอร์แบบนี้มันไม่ซับซ้อน เปลี่ยนให้ผมอันเดียวพอ (นะๆๆๆ)

6) ช่างก็ยังงอแงต่อ (เอาจริงดิ!!!)

7) เลยตัดบทว่า เอาตัวเดียวนี่แหละสั่งอะไหล่เลย ถ้ามาเปลี่ยนแล้วใช้ไม่ได้ค่อยสั่ง 3 ตัวที่เหลือ

8) ช่างจำยอมทำตามเพราะหมดช่องอ้างแล้ว (แต่ก็เริ่มเขวว่าจะโดนช่างหยามมั้ยถ้ามันต้องเปลี่ยน 4 ตัว – ก็คิดแผนต่อสู้ไว้แล้ว 555)

9) รอไป 2 อาทิตย์อะไหล่มา ไปเปลี่ยน 1 ตัวใช้ได้ตามปรกติ … ประหยัดไป 6,000 บาท

10) ศูนย์โทรมาเก็บประเมินก็บ่นยาว ๆ ไปแบบข้างบน

นิทานเรื่องนี้สอนอะไรหละ …

ตำแหน่งเซนเซอร์มีข้างหน้า 4 หลัง 4 อันนี้ช่างก็มั่ว (น่าจะลืม) ว่ามีหน้า 2 หลัง 2 จนต้องถามย้ำอยู่หลาย ๆ ทีว่ายังไงกันแน่ หายไปสักพักกลับมาบอกว่า 4-4 ครับพี่ขอโทษด้วย (╯°□°)╯︵ ┻━┻

แถมรูปเซนเซอร์

จาก https://www.ebay.com/itm/303887657176
in Car | 18 Words

อลินตา ตอนที่ 0: Welcome to The World

วันนี้ครบ 1 ปีที่หาย Covid-19 หลักจากที่ติดยกบ้านช่วงปลายเดือนกรกฏาคม 2564 (2021) พอดี

เลยอยากบันทึกเรื่องของลูกสาวที่กำลังจะ 2 ขวบเร็ว ๆ นี้ แต่อยากถือโอกาสย้อนไปตั้งแต่วันที่รู้ว่ามีลูกเลยว่ารู้สึกอย่างไรและทำอะไรไปบ้าง แล้วจะทยอยเขียนสรุปพัฒนาการรายปีก่อนวันเกิดด้วยรูปประกอบแบบคำนึงถึง PDPA ของเด็กในอนาคตด้วย (หรือไม่ลูกโตแล้วมาบอกให้ป๋าซ่อน post นะก็ว่ากันอีกที)

เริ่ม …

รู้ตัวว่ามีลูกหลังอย่างเป็นทางการหลังจาก Covid-19 เริ่มเข้าประเทศไทยแล้วประมาณ​ 1 เดือน (2020-03-21) อลินตาอายุประมาณ​ 6 สัปดาห์

~ 6 สัปดาห์

ไม่ได้มีความรู้สึกสับสนเพราะตั้งใจอยู่แล้วแค่มาจุติกลาง Covid-19 พอดีเลย วินาทีแรกที่รู้ก่อนด้วยชุดตรวจก่อนไปหาหมอคือดีใจมาก 🙂

หลังจากนั้นก็ Covid-19 กันยาว ๆ ตัวเองก็ไปช่วยคณะวิศวจุฬาทำ CU-RoboCovid ที่กลายเป็น Open Source ไปแล้ว

~ 8 สัปดาห์

หลังจากไปหาหมอก็นัดไปตรวจทุก ๆ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ อรเองก็ยังตามไปดูงาน CU-RoboCovid ที่โน้นที่นี่ ตอนนั้นคำว่ากลัว Covid-19 ยังไม่รู้จักกันเท่าไหร่เพราะไทยคุมได้ดีมาก ๆ (หรือเราโชคดี)

เริ่มย้ายจากคอนโนที่ลาดพร้าวไปอยู่บ้านที่งามวงศ์วานเพื่อเลี้ยงน้องระยะยาว ส่วนตัวก็ยังคงลุยงาน Covid-19 กับทีม Obodroid และ HiveGround ไปเรื่อย ๆ

~ 11 สัปดาห์

หลังจาก locked down กันมาสักระยะก็ได้ออกไปเที่ยวกันอีกที่ช่วง พค ตอนนั้นอัตราการติดทั้งประเทศก็น้อยมาก ๆ อยู่

เข้าพฤษภาคมก็มีพาไปเที่ยวโน้นนี่อยู่บ้างทั้งแม่และลูก 🙂
~ 15 สัปดาห์
ได้ไปเห็นทางช้างเผือกของจริงครั้งแรกกับหมอทิ (ตัวละครลับแถว Boston ณ วันนี้)
เริ่มต้องใส่ชุดคลุมท้องตั้งแต่มิถุนายน (ไปซ้อมอุ้มลูกคนอื่นสักหน่อย) ขอขอบคุณอุปกรณ์และเสื้อผ้าที่หลาย ๆ คนให้มาด้วยอีกครั้ง
วันเกิดคุณแม่ถึงก่อนคุณลูก 4 เดือน เค้กโดยน้องฝน
~26 สัปดาห์ เริ่มดิ้น ๆ หมอแซวทุกครั้งว่าสูงใหญ่เหมือนพ่อแม่แน่ ๆ (หาเรื่องกันชัด ๆ)
ย้ายจากคอนโดลาดพร้าวไปอยู่บ้านอรอย่างเป็นทางการ
เตรียมตัว Say Hello ~ 33 สัปดาห์ หัวกระโหลกมาเต็ม
วันสุดท้ายที่ Sertis ก่อนลาคลอด
ท้องลายก็มา และอีกสารพัดปัญหาด้านร่างกายและฮอร์โมนของคนท้อง เท้าบวมก็น่ากลัวไม่น้อย
~ 36 สัปดาห์​ นับถอยหลังอีก 13 วัน
ม๊อบ 112 ก็มา

อาทิตย์สุดท้ายก่อนคลอด ก็ยังหาที่เที่ยวพาอรไปก่อนที่จะต้องอยู่บ้านกันยาว ๆ ได้ไปที่เขื่อนขุนด่านปราการชล เลยทำให้น้องชอบเพลงประหยัดน้ำของพี่ว่านแบบฟังทั้งวันอยู่ร่วมเดือนหรือเปล่านะ

เที่ยวที่สุดท้ายก่อนคลอด
ลูบ ๆๆๆ น้องเตะตุ๊บ ๆ ก่อนคลอด 2 วัน

คืนก่อนคลอดฝนตก แล้วน้ำดูท่าจะท่วมบ้านเลยย้ายไปอยู่คอนโดใกล้บ้าน อรจะได้ไม่ลำบากเรื่องห้องน้ำ และเผื่อท่วมเยอะจะได้ไป รพ ง่าย ๆ พอตกดึกก็มีปวดท้องบ้างแต่ไม่แรงมาก ก็ไม่มีอะไรถึงเช้าแต่ก็รีบไป รพ เพราะอาการเข้าเค้า แต่ก็เตรียมเสื้อผ้ามาหมดแล้ว

ด้วยความที่ รพ ใกล้และไม่มีประสบการณ์ (จะมีได้ไง 55) ก็ยังชิลแวะกินข้าวมันไก่ริมถนนเพราะหิวทั้งคู่ก่อนไป รพ

แต่พอไปถึงหมอดูแล้วก็บอกว่าน่าจะวันนี้แหละเย็น ๆ จังหวะนั้นก็เหวอแล้วรีบแจ้งญาติพี่น้อง เปลี่ยนโหมด

หลังจากนั้นหมอก็เริ่มอธิบาย หยังโน้น หยังนั้น หยังนี้ และน่าจะต้องรออีกหลาย ชม เลย อรก็เริ่มปวดท้องมากขึ้น

กลายเป็นว่ารออยู่ไม่นาน อรก็เริ่มปวดท้องคลอด พยาบาลก็มาย้ายไปห้องคลอด เราก็ไปเปลี่ยนเสื้อชิล ๆ เตรียมเข้าห้องตามหมอบอกว่าอีกพักใหญ่

ผ่านไปไม่ถึง 30 นาที … เกือบเข้าไปไม่ทัน … เพราะเบ่งสองทีก็ออกมาเลย 555

เสียงดังสะใจ
Hello World !

เราเจอกันวันที่ 2020-01-11

รักแรกพบที่แท้จริง …

ความน่ากังวลของ Connected Things

เมื่อวานได้มีโอกาสคุยกับอาจารย์จาก ม เกษตร หลาย ๆ ท่านเกี่ยวกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ในการเกษตรในการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อประกอบการดำเนินโครงการ “การพัฒนานำร่องระบบนิเวศหมู่บ้านดิจิทัลในประเทศไทย” มีการพูดถึงหลาย ๆ หัวข้อที่เกี่ยวข้องและความเป็นไปได้งานการใช้ เช่น โดรนฉีดพ่นทางการเกษตร โดรนสำรวจทางการเกษตร ระบบ IoT เครื่องจักรแบบต่าง ๆ รวมถึงแนวทางนโยบายต่าง ๆ ของประเทศจากมุมมองของ startup / คนทำหุ่นยนต์ และประชาชนชาวไทยตัวเล็ก ๆ อีก 1 คน

มีประเด็นหนึ่งที่คุยกับอาจารย์แล้วนำไปสู่ความกังวลที่อาจจะเกิดขึ้นได้ถ้า 1) มีการใช้งานเครื่องจักรอัตโนมัติต่าง ๆ จำนวนมาก 2) เครื่องจักรเหล่านั้นสามารถควบคุมการทำงานหรือสั่งให้หยุดทำงานจากระยะไกลได้ 3) มีการใช้งานเครื่องจักรมากจนแรงงานคนไม่สามารถเข้ามาทำแทนได้

จาก 3 ข้อข้างบนถ้าเกิดเหตุ เช่น 1) สงคราม 2) การล่มของเครือข่าย internet 3) GPS ล่มทั่วโลกที่อาจจะเกิดจาก Solar Activities

แล้วประเทศนั้นใช้โดรนหรือเครื่องจักรอัตโนมัติทำงานแทนคนเพื่อเลี้ยงคนในประเทศได้เป็นอย่างดี (ประสิทธิภาพสูงและดีมาก) ทำให้ผลิตต่อพื้นที่สูงใช้แรงงานน้อย

แล้วเครื่องจักรทำงานไม่ได้หรือทำเกษตรไม่ได้ดื้อ ๆ เลย

เราจะอดตายกันหรือไม่ จะอยู่รอดได้หรือไม่ จะมีทางป้องกันหรือไม่

ตัวอย่างที่ชัดเจนในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เช่น 1) ทหารรัสเซียขโมยเครื่องจักรเกษตรไปจากยูเครนแล้วใช้ไม่ได้เพราะโดนตัดระบบ (ถ้าเครื่องจักรต้องคุยกับ server ก่อนเริ่มงานหรือต้อง check-in ทุก ๆ อาทิตย์แล้วประเทศโดนตัดเน็ต) 2) ศรีลังกาที่อยู่ ๆ ก็เปลี่ยนไปทำเกษตรอินทรีย์แล้วผลผลิตตกต่ำจนประชาชนอดอยาก (จริง ๆ คือไม่มีเงินซื้อปุ๋ย – สงครามทำให้ไม่มีปุ๋ย)

ประเทศที่พึ่งพาเทคโนโลยีและทรัพยากรต้นน้ำจากต่างประเทศหนัก ๆ โดยไม่มีแผนสำรองที่ดี หรือไม่เตรียมความพร้อมให้ตัวเองอาจจะไม่ได้ไปต่อ

แล้วประเทศเราเตรียมอะไรไว้บ้าง ?

น่าจะต้องหาคำตอบต่อไปและหวังว่าจะไม่สายเกินไปที่จะเริ่มตอนนี้ถ้ายังไม่ได้เริ่ม …

ถูกหวยค่าคงที่ทางฟิสิกส์

พอซื้อหวยออนไลน์ได้อย่างเป็นทางการในแอปพลิเคชัน “เป๋าตังค์” ที่ลงไว้ใช้ตั้งแต่ช่วงแจกเงินโควิด ก็ได้โอกาสลองใช้ดู

ถือเป็นการซื้อหวยจริงจังเป็นระบบครั้งแรกในชีวิต

การบ้านคือ เลขอะไรดี จากประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา พบว่าโดยหลัก (ของแม่ ญาติ และคนเล่นหวย) พบว่าจะได้เลขจาก 1) ตีความความฝัน 2) ไปขูดต้นไม้ 3) เจ้าพ่อเจ้าแม่ 4) วันเกิดคนสำคัญ 5) เลขทะเบียนรถโน้นนี่ 6) อื่น ๆ อีกสารพัด

สรุป คือ การสุ่ม แบบไม่มีที่มาที่ไป แล้วถ้าดูเรื่องเลข 2 ตัวท้ายโอกาสถูกของการเดามั่วก็ 1 ใน 100 อยู่แล้วก็ไม่แปลกทึ่วิธีการข้างบนมันจะปังมาช้านาน (คงมีใครพยายามทำสถิติไว้เยอะแล้ว ไม่พูดถึงดีกว่า)

พอถึงคราวตัวเองก็นั่งคิดนิดนึงว่าเอาอะไรเป็นตัวช่วยดี ได้ข้อสรุปคือ 1) เลขที่ลูกสาวพูดมั่ว ๆ มา 2) เลขค่าคงที่ทางฟิสิกส์

ข้อ 1) น่าจะเข้าใจกันได้ตรงไปตรงมาที่เด็กจะ 2 ขวบก็พูดโน้นนี่ไปเรื่อยถูกขึ้นมาก็เอาเงินเข้าบัญชีออมสินให้ 😄

ข้อ 2) อันนี้น่าสนใจเพราะว่าเราสามารถ search เลขที่ต้องการทั้ง 6 หลักได้จริงจังมาก ซึ่งทำแทบไม่ได้ในการซื้อหวยกระดาษ เลยเป็นที่มาของการลองซื้อค่าคงที่ทางฟิสิกส์โดยใช้ 6 หลักแรกที่มีนัยยะสำคัญสูงสุดตัดจุดทศนิยมออก

ผลสรุป ณ งวดวันที่ 1 สิงหาคม 2565 คือ ซื้อ 2 ครั้งถูก 2 ครั้ง !!! (เลขท้ายสองตัว) ตามสถิติข้างล่าง

งวดแรกซื้อ 2 เลข คือ 1) c = 299,792,458 ความเร็วแสงในหน่วย m/s ตัด 299792 และ 2) เลข 8 ที่น้องอลินตาชอบพูดช่วงนั้น ส่วนอีกใบแม่ยายฝากซื้อ ผลที่ได้ก็ตามที่เห็นในรูป ไม่ได้ตรวจผลด้วยแต่ เป๋าตังค์ เตือนว่าถูก !!!

งวด 2 ซื้อเลขน้องลินเลขเดียวเลย 99 ก็สาธุกันไปตามระเบียบ

เว้น 16 ก.ค. ไปเพราะว่าตอนนึกได้ว่าจะเข้าไปลองหาเลขค่าคงที่ทางฟิสิกส์พบว่าขายหมดไปแล้วทั้งระบบ !!!

งวด 3 ทำเหมือนงวด 1 คือ 1) Avogadro’s number L = 6.02214076×1023 mol−1 (มั่วมา) และ 2) เลข 33 ที่น้องลินพูด ได้ผลตามรูป

ซื้อเลขทางฟิสิกส์ 2 ครั้งถูกเลขท้าย 2 ครั้งติด (นับเฉพาะที่มีการใส่ค่าคงที่เข้าไป) ก็น่าสนใจทางสถิติเพราะมีโอกาสแค่ 1/10000 (1/100 * 1/100)

ผลที่ได้ที่น่าสนใจกว่าคือ มีคนมาขอเลขจ้าาาา

ได้ ! เลือกจากข้างล่างได้เลย

Physical Constants from Wikipedia

แถมวิธีการหาหวยชุดให้ด้วยตามด้านล่าง

1) ค้นหา 2 หรือ 3 ตัวหลักที่ต้องการ แล้วเลือกเลขหน้า
2) ค้นหาทั้ง 6 ตัวที่เลือก
3) เช้าวันแรกจะมีชุด 5-10 ใบมีเยอะไปหมดกดเลือกแล้วไปจ่ายตังค์ได้เลย

งวดนี้เลือกค่าคงที่อะไรดี

ขอให้โชคดี